วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประมวลปัญหาไวยากรณ์ สมัญญา สนธิ



ประมวลปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์     ที่ควรรู้เป็นเบื้องต้น
.  บาลีไวยากรณ์ว่าด้วยเรื่องอะไร ?  แบ่งเป็นกี่ภาค ?  อะไรบ้าง ?
.  ว่าด้วยเรื่องระเบียบถ้อยคำสำนวน  และระเบียบหนังสือในภาษาบาลีทั่วไป.  แบ่งเป็น  ๔ ภาค  คือ  อักขรวิธี      วจีวิภาค    วากยสัมพันธ์    ฉันทลักษณ์ ๑. 
.  ผู้ศึกษาบาลีไวยากรณ์  ได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
. ได้รับประโยชน์  คือ  ความรู้ความเข้าใจในภาษาบาลีว่าอะไรเป็นอะไร  เป็นเหตุให้ใช้ถ้อยคำสำนวนถูกต้อง  ได้ระเบียบตามภาษานิยม  เหมือนกับผู้เรียนไวยากรณ์ภาษาไทย ก็รู้และเข้าใจภาษาไทยได้ดีฉะนั้น.
.  อะไรเรียกว่าอักขระ  ?  อักขระแปลว่าอะไร ?  มีอุปการะอย่างไรหรือ  เขาจึงใช้กันทุกชาติ ? 
. เสียงก็ดี  ตัวหนังสือก็ดี ชื่อว่าอักขระ. อักขระแปลว่าไม่รู้จักอย่างหนึ่ง, ไม่เป็นของแข็งอย่างหนึ่ง. เนื้อความของถ้วยคำทั้งปวง ต้องหมายรู้กันได้ด้วยอักขระทั้งนั้น  เพราะฉะนั้น  เขาจึงต้องใช้กันทุกชาติ. 
.  อักขรวิธี  แบ่งออกเป็นกี่แผนก ?  อะไรบ้าง  ?  แผนกไหนว่าด้วยเรื่องอะไร ?
.  แบ่งเป็น ๒ แผนก  คือ สมัญญาภิธาน  ว่าด้วยอักษรที่เป็นสระและพยัญชนะ  พร้อมทั้งฐานกรณ์แผนก   ๑ สนธิ ว่าด้วยต่ออักษรที่อยู่ในคำอื่นให้เนื่องเป็นอันเดียวกันแผนก ๑. 
(สมัญญาภิธาน)
.  อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น  มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
.  มี ๔๑ ตัว คือ  อ อา อิ อี  อุ อู เอ โอ ๘ ตัวนี้ชื่อ สระ.  ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ , ฏ  ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ     ๓๓ ตัวนี้ชื่อพยัญชนะ. 
.  อะไรเรียกว่านิสัย ?  อะไรเรียกว่านิสสิต ?  มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?
. สระ    ตัวเรียกว่านิสัย. พยัญชนะ  ๓๓  ตัวเรียกว่านิสสิต,นิสสัย  มีหน้าที่ออกสำเนียง และเป็นที่อาศัยแห่งพยัญชนะ. นิสสิตมีหน้าที่ทำเนื้อความให้ปรากฏ  แต่ต้องอาศัยสระ. 
.  อักขระพวกไหนชื่อว่านิสสัย ?  พวกไหนชื่อว่านิสสิต  ?  เพราะเหตุไร ?
. อักขระ ๘ ตัวเบื้องต้นชื่อว่านิสสัย เพราะเป็นที่อาศัยของพยัญชนะ, ที่เหลือนอกนี้ชื่อว่านิสสิต  เพราะต้องอาศัยสระ. 
.  สระ  ๘ ตัว  ๆ ไหนเป็นรัสสะ    ทีฆะ  ?  และตัวไหน  จัดเป็นครุ ลหุ ?
.  อ อิ อุ เป็นรัสสะ, อา อี  อู เอ  โอ  เป็นทีฆะ, แต่ เอ เป็น โอ ๒ตัวนี้  ถ้ามีพยัญชนะสังโยคซ้อนกันอยู่เบื้องหลัง  ท่านจัดเป็นรัสสะ.สระที่เป็นทีฆะล้วน  ๕ ตัว  และที่เป็นรัสสะมีพยัญชนะสังโยคและ นิคคหิตอยู่เบื้องหลัง  จัดเป็นครุ.  สระที่เป็นรัสสะล้วน  ไม่มีพยัญชนะสังโยคและนิคคหิตอยู่เบื้องหลัง  จัดเป็นลหุ. 
.  เอ กับ  โอ  โดยฐานต่างจากสระอื่นอย่างไร  จงบรรยายและชี้เหตุด้วย ?
. สระอื่นเกิดในฐานเดียว  เอ กับ โอ เกิดใ น  ๒ ฐาน  เอ เกิดที่คอและเพดาน. โอ เกิดที่คอและ ริมฝีปาก.        เพราะสระ ๒ ตัวนี้เป็นสังยุตตสระ.    กับ  อิ  ผสมกันเป็น  เอ.  อ กับ อุ  ผสมกันเป็น โอ.
.  พยัญชนะ  แปลว่ากระไร ? 
. พยัญชนะ  แปลว่า  ทำเนื้อความให้ปรากฏ  คือให้ได้ความชัดเจนขึ้น 
.  พยัญชนะ ๓๓ ตัวนั้น จัดเป็นวรรคก็มี  เป็นอรรคก็มี การจัดอย่างนั้น ถืออะไรเป็นหลัก หรือจัดส่ง ๆไปเช่นนั้น ?
.  ถือฐานกรณ์เป็นหลัก คือพยัญชนะที่เป็นพวก ๆ กัน ตามฐานกรณ์ที่เกิด  จัดเป็นวรรค. ที่ไม่เป็นพวกเป็นหมู่กันตามฐานกรณ์ที่เกิด  จัดเป็นอวรรค. มีหลักอย่างนี้ มิได้จัดส่ง ๆ ไป.
.   พยัญชนะวรรค  อวรรค  อย่างไหนมีจำนวนเท่าไร ? จงบรรยาย. 
.  พยัญชนะวรรค มี  ๒๕  ตัว  ก ข ค ฆ ง, จ ฉ  ช ฌ ,ฏ  ฑ ฒ ณ,    ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม. ที่เป็น อวรรค  ๘ ตัว  คือ  ย ร ล ว ส ห ฬ    .
.  อนุสาร  คืออะไร ?  และแปลว่าอะไร ?  เหตุใดจึงชื่ออย่างนั้น ?
.  อนุสาร  คือนิคคหิต,  แปลว่า ไปตามสระ. ได้ชื่ออย่างนั้นก็เพราะไปตามสระ คือ  อ อิ อุ เสมอ  เหมือนคำว่า อห  เสตุ  อกาสึ  เป็นต้น.
.  พยัญชนะเช่นไรเรียกว่าพยัญชนะสังโยค  จงอธิบายถึงวิธีที่อาจเป็นได้เพียงไร ?  
.  พยัญชนะที่ซ้อนกันเรียกว่าพยัญชนะสังโยค  วิธีที่อาจเป็นได้นั้นดังนี้ คือ พยัญชนะที่ ๑  ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑และ  ที่ ๒  ในวรรคของตนได้,  พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และที่ ๔  ในวรรคของตนได้, พยัญชนะที่สุดวรรค  ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ทั้ง ๕ ตัว   เว้นแต่ตัว  ง ซึ่งเป็นตัวสะกดอย่างเดียว  ซ้อนหน้าตัวเองไม่ได้, ย ล ส ซ้อนหน้าตัวเองได้, นอกจากนี้ยังมีอีก  แต่ท่านมิได้วางระเบียบไว้แน่นอน.
. พยัญชนะอะไรบ้างซ้อนหน้าตัวเองได้ ?  พยัญชนะอะไรบ้าง  ได้แต่ซ้อนหน้าพยัญชนะอื่น ?
.  พยัญชนะที่ ๑  ที่ ๓  ที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ เว้นแต่ ง  กับ ย ล ส ซ้อนหน้าตัวเองได้, ง ว ฬ  ได้แต่ซ้อนหน้าพยัญชนะอื่นบางตัว.
(สนธิ)
. สนธิกับสมาส  มุ่งลักษณะอย่างเดียวกันมิใช่หรือ ?  เห็นอย่างไร ?  จงอธิบาย
.  มุ่งลักษณะต่างกัน  สนธิหมายเอาลักษณะการต่อตัวอักษรมิได้เพ่งถึงศัพท์.  ส่วนสมาสเพ่งการย่อศัพท์หลาย ๆ บท ให้เข้าเป็นบทเดียวกัน มิได้มุ่งการต่อตัวอักษร. แต่ถ้าอักษรที่ต่อกันในสมาสมีวิธีซึ่งต้องต่อด้วยวิธีของสนธิ จึงต้องเอาวิธีสนธิมาให้.
.  สนธิ กล่าวตามประเภทเป็นกี่อย่าง?  นิคคหิตสนธิ ๑ อย่างไหน  ต้องใช้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร?  คืออะไรบ้าง ?
.  เป็น ๓ คือ สระสนธิ ๒ พยัญชนะสนธิ  ๑ นิคคหิตสนธิ ๑ สระสนธิ  ใช้สนธิกิริโยปกรณ์ ๗ คือ โลโป  อาเทโส  อาคโม วิกาโร  ปกติ  ทีโฆ รสฺส.      พยัญชนะสนธิ  ใช้สนธิกิริโยปกรณ์ ๕ คือ     โลโป  อาเทโส  อาคโม  ปกติ  สญฺโโค.     ส่วนนิคคหิตสนธิใช้สนธิกิริโยปกรณ์  ๔ คือ  โลโป อาเทโส อาคโม  ปกติ.
.  สระสนธิ  ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร  อะไรบ้าง  ? 
. ได้สนธิกิริโยปกรณ์เป็น  ๗ คือ  โลโป อาเทโล  อาคโมวิกาโร ปกติ  ทีโฆ รสฺส, 
. พยัญชนะสนธิ  ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร? 
.  พยัญชนะสนธิ  ได้สนธิกิริยาโยปกรณ์ ๕ คือ โลโป อาเทโส อาคโม ปกติ  สญฺโโค.  
.  อาเทสกับวิการ  ต่างกันอย่างไร ? 
.  อาเทส ได้แก่แปลงสระหรือนิคคหิตให้เป็นพยัญชนะ หรือ แปลงพยัญชนะให้เป็นสระ  หรือเป็นพยัญชนะอื่นจากเดิม, ส่วนวิการได้แก่ทำสระให้เป็นสระมีรูปผิดจากวัณณะเดิม  ต่างกันอย่างนี้.
พ.ม.สมพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น