๑. นามศัพท์ทั้ง ๓
อย่างไหนแบ่งเป็นกี่อย่าง อะไรบ้าง ?
ตอบ นามนาม
แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ สาธารณนาม ๑ อสาธารณนาม ๑,
คุณนาม แบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ ปกติ
๑ วิเสสน ๑ อติวิเสส ๑, สัพพนาม แบ่งเป็น
๒ อย่าง คือ ปุริสสัพพนาม ๑ วิเสสนสัพพนาม ๑ ฯ
๒. สัพพนาม คือนามอย่างไร
?
ตอบ
สัพพนาม คือนามที่ใช้แทนนามนามซึ่งออกชื่อมาแล้ว เช่น ท่าน เธอ เขา
มัน กู สู เอง มึง
เป็นต้น ฯ
๓. ลิงค์แปลว่าอะไร จัดเป็นเท่าไร
อะไรบ้าง และจัดอย่างไร ?
ตอบ
แปลว่าเพศ, จัดเป็น ๓ ปุงลิงค์ เพศชาย ๑
อิตถีลิงค์ เพศหญิง ๑ นปุงสกลิงค์ มิใช่เพศชายมิใช่เพศหญิง ๑,
จัดตามสมมติของภาษาบ้าง
ตามกำเนิดบ้าง ฯ
๔.
วจนะหมายความว่ากระไร มีกี่อย่าง
อะไรบ้าง จำเป็นต้องมีหรือ ถ้าไม่มี
จะเป็นอย่างไร ?
ตอบ วจนะหมายความว่า คำพูดที่ระบุจำนวนนามนาม มี ๒ อย่าง คือ เอวจนะ
สำหรับพูดถึงนามนามสิ่งเดียว,
พหุวจนะ สำหรับพูดถึงนามนามหลายสิ่ง,
จำเป็นต้อมี ถ้าไม่มีก็ทำให้ทราบจำนวนของนามว่ามากหรือน้อยไม่ได้ ฯ
๕. วิภัตติ
มีหน้าที่อย่างไร มีจำนวนเท่าไร จัดเป็นหมวดหมู่กันอย่างไรบ้าง จงบรรยาย
ฯ
ตอบ
วิภัตติมีหน้าที่แจกนามศัพท์ตามการันต์นั้นๆ ทำให้ศัพท์มีรูปต่างๆ
หมุนไปให้ได้ความตามภาษา มีจำนวน ๑๔
จัดเป็นเอกวจนะ ๗ พหุวจนะ
๗ และจัดเป็นที่ ๆ ๗ ที่ คือ (ตีตารางเขียนวิภัตติ๑๔ตัว สิ โย อํ โย นา หิ
เป็นต้น) ฯ
๖. วิภัตติ
มีประโยชน์อย่างไร ?
ตอบ มีประโยชน์
ช่วยให้ผู้ศึกษากำหนดเนื้อความได้ง่ายขึ้น และจำลิงค์วจนะได้แม่นยำขึ้น
ทำเนื้อความแห่งศัพท์ทั้งปวงให้ประสานเกี่ยวเนื่องถึงกัน และได้ความตามภาษานิยม ฯ
๗. การันต์คืออะไร สำคัญอย่างไร ?
ตอบ สระที่สุดอักษรหรือสระที่คุณศัพท์ เรียกว่า
การันต์ สำคัญคือ การที่จะทราบได้ว่าศัพท์ไหนเป็นการันต์อะไร ท่านให้สังเกตสระที่สุดของศัพท์นั้น การันต์นี้ช่วยให้จำลิงค์ได้แม่นยำขึ้น
และให้ความสะดวกในการแจกศัพท์ให้เปลี่ยนแปลงไปตามวิภัตติทั้ง ๗ ฯ
๘.
การันต์โดยพิสดารมีเท่าไร โดยย่อมีเท่าไร อะไรบ้าง
?
ตอบ การันต์โดยพิสดารมี
๑๓ คือ ปุงลิงค์มีการันต์ ๕ คือ อ อิ อี
อุ อู. อิตถีลิงค์มีการันต์ ๕ คือ อา อิ
อี อุ อู. นปุงสกลิงค์มีการันต์ ๓ คือ อ
อิ อุ, การันต์โดยย่อมี ๖ คือ อ อา อิ อี อุ อู ฯ
๙. อตฺต ศัพท์
ไม่มีพหุวจนะ
ถึงคราวให้พหุวจนะ จะใช้อย่างไร ?
ตอบ ใช้เอกวจนะนั้นเอง แต่ถ้ามีนามที่เป็นพหุวจนะนั้นหลายพวก
ใช้คำเอกวจนะซ้ำ ๒ หน อุทาหรณ์ อตฺตโน อตฺตโน ปตฺตาสเนสุ
นิสีทึสุ ฯ
๑๐. ราช ศัพท์ เป็นได้กี่ลิงค์ ลิงค์อะไรบ้าง วิธีแจกแบบเดียวกันหรือต่างกัน ?
ตอบ เป็นได้
๒ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์ และอิตถีลิงค์
มีวิธีแจกต่างกันคือ ปุงลิงค์
แจกอย่างที่ปรากฏชัดในแบบแล้ว,
ส่วนที่เป็นอิตถีลิงค์แจกตามแบบนารี
ฯ
๑๑. มโนคณะ มีกี่ศัพท์ คืออะไรบ้าง มีวิธีแปลงวิภัตติเป็นอย่างไร
เมื่อเข้าสมาส
จะต้องทำอย่างไรบ้าง ?
ตอบ มโนคณะ
มี ๑๒ ศัพท์ คือ มน อย อุร
เจต
ตป ตม เตช ปย ยส
วจ วย สิร.
มีวิธีแปลงวิภัตติอย่างนี้ คือ นา กับ สฺมา เป็น
อา, ส ทั้ง ๒ เป็น โอ, สฺมึ เป็น อิ, แล้วลง ส
อาคมเป็น สา เป็นโส เป็นสิ, เอา อํ เป็น โอ ได้บ้าง, เมื่อเข้าสมาสแล้ว ต้องเอาสระที่สุดของตนเป็น โอ ได้ เหมือนคำว่า มโนคโณ หมู่แห่งมนะ
อโยมยํ ของที่คุณทำด้วยเหล็ก
ฯ
๑๒. ศัพท์เช่นไร
เรียกว่า สังขยา ?
ตอบ
ศัพท์ที่เป็นเครื่องกำหนดนับนามนามให้รู้ว่า นามนามมีจำนวนมากน้อยเท่าไรแน่ เรียกว่า สังขยา ฯ
๑๓. สังขยา มีกี่อย่าง
ใช้ต่างกันอย่างไร เป็นนามอะไร ?
ตอบ สังขยา
มี ๒ อย่าง คือ
ปกติสังขยาและปูรณสังขยา, ปกติสังขยาใช้นับตามปกติ เช่น ๑
๒ ๓ ปูรณสังขยา ใช้นับตามลำดับที่
เช่น ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓,
ปกติสังขยา ตั้งแต่ เอก ถึง จตุ
เป็นสัพพนาม, ตั้งแต่ ปญฺจ ถึง อฏฺฐนวุติ เป็นคุณนาม, ตั้งแต่ เอกูนสตํ ไปเป็นนามนาม ส่วน
ปูรณสังขยา เป็นคุณนามล้วน ฯ
๑๔. ปกติสังขยา เป็นนามอะไร ?
ตอบ ปกติสังขยา
แบ่งเป็นนามดังนี้ คือ ตั้งแต่
เอก. ถึง จตุ. เป็นสัพพนาม. ตั้งแต่
ปญฺจ ถึง อฏฺฐนวุติ เป็นคุณนาม.
ตั้งแต่ เอกูนสตํไป เป็นนามนาม ฯ
๑๕. สัพพนาม มีเท่าไร อะไรบ้าง และต่างกันอย่างไร
?
ตอบ มี ๒ คือ
ปุริสสัพพนาม ๑ วิเสสนสัพพนาม ๑.
ต่างกัน คือ ปุริสสัพพนาม
สำหรับใช้แทนชื่อคน สัตว์
และสิ่งของต่าง ๆที่ได้ออกชื่อมาแล้ว
เพื่อมิใช้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ซึ่งไม่เพราะหู เช่น โส เขา ตฺวํ
เธอหรือท่าน,
อหํ ข้าพเจ้าหรือเรา
ตามฐานะสูงหรือต่ำ. ส่วนวิเสสนสัพพนาม
ส่องความให้ทราบว่า สิ่งนั้น ๆ
อยู่ใกล้หรือไกล เช่น โส ชโน ชนนั้น, เอโส ธมฺโม ธรรมนั่น, อิทํ วตฺถุ วัตถุนี้, อสุโก ปุคฺคโล บุคคลโน้น เป็นต้น
ฯ
๑๖. ปุริสสัพพนาม
แบ่งเป็นกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? และใช้ศัพท์อะไรประจำชั้นนั้น ๆ ?
ตอบ แบ่งเป็น
๓ อย่าง คือ ประถมบุรุษ ๑ มัธยมบุรุษ
๑ อุตตมบุรุษ ๑ ประถมบุรุษใช้ ต ศัพท์
มัธยมบุรุษใช้ ตุมฺห ศัพท์ อุตตมบุรุษใช้ อมฺห ศัพท์
ฯ
๑๗.
วิเสสนสัพพนาม แบ่งเป็นเท่าไร ? อะไรบ้าง ? และหมายความต่างกันอย่างไร ?
ตอบ แบ่งเป็น
๒ คือ นิยม กับ
อนิยม, นิยม
คือพูดเจาะจงถึงคนหรือของสิ่งนั้นสิ่งนี้โดยแน่นอน อนิยม
คือพูดไม่เจาะจงลงเป็นแน่นอน ฯ
ธมฺมธารี ภิกฺขุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น