วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประมวลปัญหาไวยากรณ์ สมัญญา สนธิ



ประมวลปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์     ที่ควรรู้เป็นเบื้องต้น
.  บาลีไวยากรณ์ว่าด้วยเรื่องอะไร ?  แบ่งเป็นกี่ภาค ?  อะไรบ้าง ?
.  ว่าด้วยเรื่องระเบียบถ้อยคำสำนวน  และระเบียบหนังสือในภาษาบาลีทั่วไป.  แบ่งเป็น  ๔ ภาค  คือ  อักขรวิธี      วจีวิภาค    วากยสัมพันธ์    ฉันทลักษณ์ ๑. 
.  ผู้ศึกษาบาลีไวยากรณ์  ได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
. ได้รับประโยชน์  คือ  ความรู้ความเข้าใจในภาษาบาลีว่าอะไรเป็นอะไร  เป็นเหตุให้ใช้ถ้อยคำสำนวนถูกต้อง  ได้ระเบียบตามภาษานิยม  เหมือนกับผู้เรียนไวยากรณ์ภาษาไทย ก็รู้และเข้าใจภาษาไทยได้ดีฉะนั้น.
.  อะไรเรียกว่าอักขระ  ?  อักขระแปลว่าอะไร ?  มีอุปการะอย่างไรหรือ  เขาจึงใช้กันทุกชาติ ? 
. เสียงก็ดี  ตัวหนังสือก็ดี ชื่อว่าอักขระ. อักขระแปลว่าไม่รู้จักอย่างหนึ่ง, ไม่เป็นของแข็งอย่างหนึ่ง. เนื้อความของถ้วยคำทั้งปวง ต้องหมายรู้กันได้ด้วยอักขระทั้งนั้น  เพราะฉะนั้น  เขาจึงต้องใช้กันทุกชาติ. 
.  อักขรวิธี  แบ่งออกเป็นกี่แผนก ?  อะไรบ้าง  ?  แผนกไหนว่าด้วยเรื่องอะไร ?
.  แบ่งเป็น ๒ แผนก  คือ สมัญญาภิธาน  ว่าด้วยอักษรที่เป็นสระและพยัญชนะ  พร้อมทั้งฐานกรณ์แผนก   ๑ สนธิ ว่าด้วยต่ออักษรที่อยู่ในคำอื่นให้เนื่องเป็นอันเดียวกันแผนก ๑. 
(สมัญญาภิธาน)
.  อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น  มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
.  มี ๔๑ ตัว คือ  อ อา อิ อี  อุ อู เอ โอ ๘ ตัวนี้ชื่อ สระ.  ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ , ฏ  ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ     ๓๓ ตัวนี้ชื่อพยัญชนะ. 
.  อะไรเรียกว่านิสัย ?  อะไรเรียกว่านิสสิต ?  มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?
. สระ    ตัวเรียกว่านิสัย. พยัญชนะ  ๓๓  ตัวเรียกว่านิสสิต,นิสสัย  มีหน้าที่ออกสำเนียง และเป็นที่อาศัยแห่งพยัญชนะ. นิสสิตมีหน้าที่ทำเนื้อความให้ปรากฏ  แต่ต้องอาศัยสระ. 
.  อักขระพวกไหนชื่อว่านิสสัย ?  พวกไหนชื่อว่านิสสิต  ?  เพราะเหตุไร ?
. อักขระ ๘ ตัวเบื้องต้นชื่อว่านิสสัย เพราะเป็นที่อาศัยของพยัญชนะ, ที่เหลือนอกนี้ชื่อว่านิสสิต  เพราะต้องอาศัยสระ. 
.  สระ  ๘ ตัว  ๆ ไหนเป็นรัสสะ    ทีฆะ  ?  และตัวไหน  จัดเป็นครุ ลหุ ?
.  อ อิ อุ เป็นรัสสะ, อา อี  อู เอ  โอ  เป็นทีฆะ, แต่ เอ เป็น โอ ๒ตัวนี้  ถ้ามีพยัญชนะสังโยคซ้อนกันอยู่เบื้องหลัง  ท่านจัดเป็นรัสสะ.สระที่เป็นทีฆะล้วน  ๕ ตัว  และที่เป็นรัสสะมีพยัญชนะสังโยคและ นิคคหิตอยู่เบื้องหลัง  จัดเป็นครุ.  สระที่เป็นรัสสะล้วน  ไม่มีพยัญชนะสังโยคและนิคคหิตอยู่เบื้องหลัง  จัดเป็นลหุ. 
.  เอ กับ  โอ  โดยฐานต่างจากสระอื่นอย่างไร  จงบรรยายและชี้เหตุด้วย ?
. สระอื่นเกิดในฐานเดียว  เอ กับ โอ เกิดใ น  ๒ ฐาน  เอ เกิดที่คอและเพดาน. โอ เกิดที่คอและ ริมฝีปาก.        เพราะสระ ๒ ตัวนี้เป็นสังยุตตสระ.    กับ  อิ  ผสมกันเป็น  เอ.  อ กับ อุ  ผสมกันเป็น โอ.
.  พยัญชนะ  แปลว่ากระไร ? 
. พยัญชนะ  แปลว่า  ทำเนื้อความให้ปรากฏ  คือให้ได้ความชัดเจนขึ้น 
.  พยัญชนะ ๓๓ ตัวนั้น จัดเป็นวรรคก็มี  เป็นอรรคก็มี การจัดอย่างนั้น ถืออะไรเป็นหลัก หรือจัดส่ง ๆไปเช่นนั้น ?
.  ถือฐานกรณ์เป็นหลัก คือพยัญชนะที่เป็นพวก ๆ กัน ตามฐานกรณ์ที่เกิด  จัดเป็นวรรค. ที่ไม่เป็นพวกเป็นหมู่กันตามฐานกรณ์ที่เกิด  จัดเป็นอวรรค. มีหลักอย่างนี้ มิได้จัดส่ง ๆ ไป.
.   พยัญชนะวรรค  อวรรค  อย่างไหนมีจำนวนเท่าไร ? จงบรรยาย. 
.  พยัญชนะวรรค มี  ๒๕  ตัว  ก ข ค ฆ ง, จ ฉ  ช ฌ ,ฏ  ฑ ฒ ณ,    ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม. ที่เป็น อวรรค  ๘ ตัว  คือ  ย ร ล ว ส ห ฬ    .
.  อนุสาร  คืออะไร ?  และแปลว่าอะไร ?  เหตุใดจึงชื่ออย่างนั้น ?
.  อนุสาร  คือนิคคหิต,  แปลว่า ไปตามสระ. ได้ชื่ออย่างนั้นก็เพราะไปตามสระ คือ  อ อิ อุ เสมอ  เหมือนคำว่า อห  เสตุ  อกาสึ  เป็นต้น.
.  พยัญชนะเช่นไรเรียกว่าพยัญชนะสังโยค  จงอธิบายถึงวิธีที่อาจเป็นได้เพียงไร ?  
.  พยัญชนะที่ซ้อนกันเรียกว่าพยัญชนะสังโยค  วิธีที่อาจเป็นได้นั้นดังนี้ คือ พยัญชนะที่ ๑  ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑และ  ที่ ๒  ในวรรคของตนได้,  พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และที่ ๔  ในวรรคของตนได้, พยัญชนะที่สุดวรรค  ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ทั้ง ๕ ตัว   เว้นแต่ตัว  ง ซึ่งเป็นตัวสะกดอย่างเดียว  ซ้อนหน้าตัวเองไม่ได้, ย ล ส ซ้อนหน้าตัวเองได้, นอกจากนี้ยังมีอีก  แต่ท่านมิได้วางระเบียบไว้แน่นอน.
. พยัญชนะอะไรบ้างซ้อนหน้าตัวเองได้ ?  พยัญชนะอะไรบ้าง  ได้แต่ซ้อนหน้าพยัญชนะอื่น ?
.  พยัญชนะที่ ๑  ที่ ๓  ที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ เว้นแต่ ง  กับ ย ล ส ซ้อนหน้าตัวเองได้, ง ว ฬ  ได้แต่ซ้อนหน้าพยัญชนะอื่นบางตัว.
(สนธิ)
. สนธิกับสมาส  มุ่งลักษณะอย่างเดียวกันมิใช่หรือ ?  เห็นอย่างไร ?  จงอธิบาย
.  มุ่งลักษณะต่างกัน  สนธิหมายเอาลักษณะการต่อตัวอักษรมิได้เพ่งถึงศัพท์.  ส่วนสมาสเพ่งการย่อศัพท์หลาย ๆ บท ให้เข้าเป็นบทเดียวกัน มิได้มุ่งการต่อตัวอักษร. แต่ถ้าอักษรที่ต่อกันในสมาสมีวิธีซึ่งต้องต่อด้วยวิธีของสนธิ จึงต้องเอาวิธีสนธิมาให้.
.  สนธิ กล่าวตามประเภทเป็นกี่อย่าง?  นิคคหิตสนธิ ๑ อย่างไหน  ต้องใช้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร?  คืออะไรบ้าง ?
.  เป็น ๓ คือ สระสนธิ ๒ พยัญชนะสนธิ  ๑ นิคคหิตสนธิ ๑ สระสนธิ  ใช้สนธิกิริโยปกรณ์ ๗ คือ โลโป  อาเทโส  อาคโม วิกาโร  ปกติ  ทีโฆ รสฺส.      พยัญชนะสนธิ  ใช้สนธิกิริโยปกรณ์ ๕ คือ     โลโป  อาเทโส  อาคโม  ปกติ  สญฺโโค.     ส่วนนิคคหิตสนธิใช้สนธิกิริโยปกรณ์  ๔ คือ  โลโป อาเทโส อาคโม  ปกติ.
.  สระสนธิ  ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร  อะไรบ้าง  ? 
. ได้สนธิกิริโยปกรณ์เป็น  ๗ คือ  โลโป อาเทโล  อาคโมวิกาโร ปกติ  ทีโฆ รสฺส, 
. พยัญชนะสนธิ  ได้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร? 
.  พยัญชนะสนธิ  ได้สนธิกิริยาโยปกรณ์ ๕ คือ โลโป อาเทโส อาคโม ปกติ  สญฺโโค.  
.  อาเทสกับวิการ  ต่างกันอย่างไร ? 
.  อาเทส ได้แก่แปลงสระหรือนิคคหิตให้เป็นพยัญชนะ หรือ แปลงพยัญชนะให้เป็นสระ  หรือเป็นพยัญชนะอื่นจากเดิม, ส่วนวิการได้แก่ทำสระให้เป็นสระมีรูปผิดจากวัณณะเดิม  ต่างกันอย่างนี้.
พ.ม.สมพร

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ไวยากรณ์ สมาส



เป็นการฝึกหัด เผื่อทำงานสมาส

ประมวลปัญหา-เฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค ๑ – ๒ (นามศัพท์)





๑.  นามศัพท์ทั้ง ๓ อย่างไหนแบ่งเป็นกี่อย่าง  อะไรบ้าง ?
ตอบ  นามนาม แบ่งเป็น  ๒ อย่าง  คือ สาธารณนาม ๑  อสาธารณนาม ๑,  คุณนาม  แบ่งเป็น ๓ อย่าง  คือ ปกติ          วิเสสน  ๑ อติวิเสส ๑,    สัพพนาม  แบ่งเป็น  ๒ อย่าง  คือ ปุริสสัพพนาม  ๑ วิเสสนสัพพนาม ๑ 

๒.  สัพพนาม  คือนามอย่างไร  ?
ตอบ  สัพพนาม  คือนามที่ใช้แทนนามนามซึ่งออกชื่อมาแล้ว  เช่น ท่าน  เธอ  เขา  มัน  กู  สู  เอง  มึง  เป็นต้น ฯ  

๓.  ลิงค์แปลว่าอะไร  จัดเป็นเท่าไร   อะไรบ้าง   และจัดอย่างไร ?
ตอบ  แปลว่าเพศ, จัดเป็น  ๓ ปุงลิงค์  เพศชาย ๑  อิตถีลิงค์  เพศหญิง    นปุงสกลิงค์  มิใช่เพศชายมิใช่เพศหญิง  ๑,  จัดตามสมมติของภาษาบ้าง  ตามกำเนิดบ้าง 

๔.  วจนะหมายความว่ากระไร   มีกี่อย่าง   อะไรบ้าง   จำเป็นต้องมีหรือ  ถ้าไม่มี  จะเป็นอย่างไร ?  
ตอบ วจนะหมายความว่า คำพูดที่ระบุจำนวนนามนาม มี ๒  อย่าง คือ  เอวจนะ  สำหรับพูดถึงนามนามสิ่งเดียว,        
พหุวจนะ  สำหรับพูดถึงนามนามหลายสิ่ง, จำเป็นต้อมี  ถ้าไม่มีก็ทำให้ทราบจำนวนของนามว่ามากหรือน้อยไม่ได้  ฯ 

๕. วิภัตติ  มีหน้าที่อย่างไร  มีจำนวนเท่าไร  จัดเป็นหมวดหมู่กันอย่างไรบ้าง   จงบรรยาย ฯ 
ตอบ  วิภัตติมีหน้าที่แจกนามศัพท์ตามการันต์นั้นๆ ทำให้ศัพท์มีรูปต่างๆ หมุนไปให้ได้ความตามภาษา มีจำนวน ๑๔  จัดเป็นเอกวจนะ    พหุวจนะ  ๗ และจัดเป็นที่ ๆ  ๗ ที่ คือ  (ตีตารางเขียนวิภัตติ๑๔ตัว สิ โย อํ โย นา หิ เป็นต้น) ฯ 
 
๖. วิภัตติ  มีประโยชน์อย่างไร ?
ตอบ มีประโยชน์  ช่วยให้ผู้ศึกษากำหนดเนื้อความได้ง่ายขึ้น และจำลิงค์วจนะได้แม่นยำขึ้น ทำเนื้อความแห่งศัพท์ทั้งปวงให้ประสานเกี่ยวเนื่องถึงกัน  และได้ความตามภาษานิยม  ฯ 

๗.  การันต์คืออะไร  สำคัญอย่างไร ?
ตอบ สระที่สุดอักษรหรือสระที่คุณศัพท์ เรียกว่า การันต์   สำคัญคือ การที่จะทราบได้ว่าศัพท์ไหนเป็นการันต์อะไร  ท่านให้สังเกตสระที่สุดของศัพท์นั้น การันต์นี้ช่วยให้จำลิงค์ได้แม่นยำขึ้น และให้ความสะดวกในการแจกศัพท์ให้เปลี่ยนแปลงไปตามวิภัตติทั้ง ๗ 

๘.  การันต์โดยพิสดารมีเท่าไร  โดยย่อมีเท่าไร   อะไรบ้าง ?
ตอบ  การันต์โดยพิสดารมี ๑๓  คือ ปุงลิงค์มีการันต์ ๕ คือ อ อิ อี อุ อู. อิตถีลิงค์มีการันต์ ๕ คือ  อา อิ อี อุ อู.  นปุงสกลิงค์มีการันต์ ๓ คือ อ อิ อุ,    การันต์โดยย่อมี ๖ คือ   อา  อิ  อี  อุ  อู  ฯ 

๙.  อตฺต  ศัพท์  ไม่มีพหุวจนะ  ถึงคราวให้พหุวจนะ  จะใช้อย่างไร ?
ตอบ ใช้เอกวจนะนั้นเอง  แต่ถ้ามีนามที่เป็นพหุวจนะนั้นหลายพวก ใช้คำเอกวจนะซ้ำ ๒ หน อุทาหรณ์  อตฺตโน  อตฺตโน     ปตฺตาสเนสุ  นิสีทึสุ  ฯ 

๑๐.  ราช ศัพท์  เป็นได้กี่ลิงค์  ลิงค์อะไรบ้าง   วิธีแจกแบบเดียวกันหรือต่างกัน ?
ตอบ  เป็นได้  ๒ ลิงค์  คือ ปุงลิงค์  และอิตถีลิงค์  มีวิธีแจกต่างกันคือ ปุงลิงค์  แจกอย่างที่ปรากฏชัดในแบบแล้ว,  ส่วนที่เป็นอิตถีลิงค์แจกตามแบบนารี  ฯ 

๑๑.  มโนคณะ  มีกี่ศัพท์   คืออะไรบ้าง  มีวิธีแปลงวิภัตติเป็นอย่างไร   เมื่อเข้าสมาส จะต้องทำอย่างไรบ้าง ?
ตอบ  มโนคณะ มี ๑๒ ศัพท์  คือ  มน อย  อุร  เจต  ตป  ตม เตช  ปย ยส  วจ  วย  สิร.
 มีวิธีแปลงวิภัตติอย่างนี้ คือ นา กับ สฺมา เป็น อา, ส ทั้ง ๒ เป็น โอ, สฺมึ  เป็น อิ, แล้วลง ส อาคมเป็น สา เป็นโส  เป็นสิ, เอา อํ เป็น โอ ได้บ้าง, เมื่อเข้าสมาสแล้ว  ต้องเอาสระที่สุดของตนเป็น  โอ ได้ เหมือนคำว่า มโนคโณ  หมู่แห่งมนะ  
อโยมยํ  ของที่คุณทำด้วยเหล็ก ฯ   

๑๒. ศัพท์เช่นไร  เรียกว่า  สังขยา ?
ตอบ  ศัพท์ที่เป็นเครื่องกำหนดนับนามนามให้รู้ว่า   นามนามมีจำนวนมากน้อยเท่าไรแน่  เรียกว่า  สังขยา ฯ  

๑๓. สังขยา  มีกี่อย่าง  ใช้ต่างกันอย่างไร  เป็นนามอะไร ?
ตอบ  สังขยา มี  ๒ อย่าง  คือ  ปกติสังขยาและปูรณสังขยา, ปกติสังขยาใช้นับตามปกติ  เช่น  ๑ ๒ ๓  ปูรณสังขยา ใช้นับตามลำดับที่ เช่น  ที่ ๑  ที่ ๒ ที่ ๓,  ปกติสังขยา  ตั้งแต่  เอก ถึง จตุ  เป็นสัพพนาม,  ตั้งแต่ ปญฺจ  ถึง อฏฺฐนวุติ เป็นคุณนาม, ตั้งแต่ เอกูนสตํ  ไปเป็นนามนาม  ส่วน  ปูรณสังขยา  เป็นคุณนามล้วน ฯ

๑๔.  ปกติสังขยา  เป็นนามอะไร ?
ตอบ ปกติสังขยา  แบ่งเป็นนามดังนี้ คือ  ตั้งแต่ เอก. ถึง จตุ. เป็นสัพพนาม. ตั้งแต่  ปญฺจ  ถึง อฏฺฐนวุติ  เป็นคุณนาม.  ตั้งแต่ เอกูนสตํไป เป็นนามนาม ฯ 

๑๕.  สัพพนาม  มีเท่าไร   อะไรบ้าง   และต่างกันอย่างไร ?
ตอบ  มี ๒ คือ ปุริสสัพพนาม  ๑ วิเสสนสัพพนาม  ๑.  ต่างกัน คือ ปุริสสัพพนาม  สำหรับใช้แทนชื่อคน สัตว์  และสิ่งของต่าง ๆที่ได้ออกชื่อมาแล้ว  เพื่อมิใช้ซ้ำ    ซาก ๆ ซึ่งไม่เพราะหู เช่น  โส เขา ตฺวํ  เธอหรือท่าน, อหํ ข้าพเจ้าหรือเรา  ตามฐานะสูงหรือต่ำ. ส่วนวิเสสนสัพพนาม  ส่องความให้ทราบว่า สิ่งนั้น  ๆ อยู่ใกล้หรือไกล เช่น  โส ชโน  ชนนั้น,  เอโส  ธมฺโม ธรรมนั่น, อิทํ  วตฺถุ วัตถุนี้, อสุโก  ปุคฺคโล บุคคลโน้น  เป็นต้น 

๑๖.  ปุริสสัพพนาม แบ่งเป็นกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?  และใช้ศัพท์อะไรประจำชั้นนั้น ๆ ?
ตอบ  แบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ  ประถมบุรุษ  ๑ มัธยมบุรุษ  ๑ อุตตมบุรุษ ๑  ประถมบุรุษใช้  ต ศัพท์  มัธยมบุรุษใช้      ตุมฺห ศัพท์ อุตตมบุรุษใช้  อมฺห ศัพท์ 

๑๗.  วิเสสนสัพพนาม  แบ่งเป็นเท่าไร ?  อะไรบ้าง ?  และหมายความต่างกันอย่างไร ?
ตอบ  แบ่งเป็น ๒ คือ  นิยม  กับ  อนิยม,  นิยม  คือพูดเจาะจงถึงคนหรือของสิ่งนั้นสิ่งนี้โดยแน่นอน  อนิยม   คือพูดไม่เจาะจงลงเป็นแน่นอน       


                                                 ธมฺมธารี ภิกฺขุ